การสูญหาย (ดาราศาสตร์)
การสูญหาย (อังกฤษ: extinction) เป็นคำศัพท์ทางดาราศาสตร์ที่ใช้ในความหมายของการดูดกลืนและการกระจายรังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่แผ่ออกมาจากวัตถุทางดาราศาสตร์โดยสสารบางอย่าง เช่น ฝุ่นและแก๊สที่อยู่ระหว่างวัตถุที่แผ่รังสีกับผู้สังเกต บุคคลแรกที่นำเสนอหลักการของการสูญหายในสสารระหว่างดาวคือ โรเบิร์ต จูเลียส ทรัมเพลอร์[1] แม้ว่าจะมีการระบุถึงสภาวการณ์นี้มาก่อนแล้วตั้งแต่ปี ค.ศ. 1847 โดย Friedrich Georg Wilhelm von Struve[2] สำหรับผู้สังเกตที่อยู่บนโลก การสูญหายสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งจากสสารระหว่างดาว และจากชั้นบรรยากาศของโลก นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากฝุ่นระหว่างดาวที่อยู่รอบๆ วัตถุที่สังเกตก็ได้ การสูญหายเนื่องจากชั้นบรรยากาศทำให้ผลสังเกตในบางช่วงคลื่นหายไป (เช่น คลื่นรังสีเอ็กซ์ อัลตราไวโอเลต และอินฟราเรด) ทำให้ต้องทำการสังเกตการณ์จากฐานสังเกตในอวกาศ แสงสีน้ำเงินมักจะถูกทอนลงได้มากกว่าแสงสีแดงในช่วงความยาวคลื่นของแสง ผลที่ได้ทำให้วัตถุมีสีแดงกว่าความเป็นจริง การสูญหายระหว่างดาวเช่นนี้เรียกกันว่า reddening
อ้างอิง
[แก้]- ↑ R.J. Trumpler, 1930. Preliminary results on the distances, dimensions and space distribution of open star clusters. Lick Obs. Bull. Vol XIV, No. 420 (1930) 154-188. Table 16 is the Trumpler catalog of open clusters, referred to as "Trumpler (or Tr) 1-37l[1]
- ↑ Struve, F. G. W. 1847, St. Petersburg: Tip. Acad. Imper., 1847; IV, 165 p.; in 8.; DCCC.4.211[2]